ความชื้นในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุ

การดูแลรักษาและควบคุมค่าความชื้นสัมพัทธ์วัตถุทางวัฒนธรรม

     กระบวนการดูแลรักษา ประกอบด้วยการดูแลรักษาวัตถุต้องมีการจัดการที่เหมาะสม ได้แก่การจัดการรักษาสภาพแวดล้อมในห้องที่มีการจัดเก็บหรือมีการจัดแสดงให้เหมาะสมกับวัตถุต่างๆ การจัดเก็บวัตถุด้วยวิธีการที่ถูกต้อง และการทําความสะอาดซ่อมแซม วัตถุที่มีการชํารุด โดยวิธีการที่ถูกต้อง การจัดการสิ่งแวดล้อมการจัดการสภาวะแวดล้อมในห้องที่ใช้เก็บรักษาและจัดแสดงวัตถุ มีความสําคัญมาก เพราะสาเหตุการชํารุดเสื่อมสภาพของวัตถุส่วนใหญ่มาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นต้องมีการควบคุมสิ่งแวดล้อม
ต่างๆ การควบคุมความชื้น การควบคุมอุณหภูมิและแสงสว่าง การรักษาความสะอาดของสถานที่และการควบคุมระบบหมนเวียนอากาศ

     การควบคุมความชื้น
ความชื้นมีแหล่งที่มา 3 ทาง ได้แก่ น้ำฝน น้ำใต้ดิน และไอน้ำในอากาศ เมื่อมีความชื้นสงูจะสงผลให้แมลงและจุลินทรีย์เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดโครงสร้างภายในของวัตถประเภทอนิทรีย์วัตถุ เช่น กระดาษบวม ผ้าเปื่อยขาด เป็นต้น และวัตถุประเภท โลหะจะเกิดสนิมขึ้นในกรณีที่ความชื้นมีการแปรปรวนตลอดเวลาจะทําให้เกิดการชํารุดของวัตถุ เช่น ไม้แตกร้าว โก่งงอ หนังเกิดการบิดงอ เป็นต้น

      การควบคุมค่าความชื้นในห้องและสถานที่ที่มีการจัดเก็บรักษา จัดแสดงวัตถุ กระทำได้โดยการติดตั้งเครื่องลดความชื้น เครื่องควบคุมความชื้นเพื่อดูดอากาศที่มีค่าความชื้นสูงออกไป และนำเอาอากาศแห้งเข้ามาแทนที่อากาศเดิม เพื่อควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ที่ 55-65%RH ตลอด 24 ชั่วโมง และต้องระมัดระวังช่วงเวลาที่ทำการปิดเครื่องปรับอากาศ ห้ามให้ความชื้นสัมพัทธ์เกินกว่า 65%RH (Relative humidity) อาจต้องมีการเปิดเครื่องลดความชื้น หรือเครื่องควบคุมความชื้น 24 ชั่วโมง โดยเครื่องลดความชื้นในปัจจุบันมีหลากหลายรุ่นหลายประเภทให้เลือกใช้  โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพของเครื่องลดความชื้นที่สัมพัทธ์กับปริมาตรของห้อง เพื่อให้การดูดความชื้นมีประสิทธิภาพในกรณีภายในตู้จัดแสดงสามารถเจาะท่อแล้วต่อสายสำหรับใช้ลดความชื้นออกไปทั้งทางด้านบน หรือด้านล่างก็ได้ (ตามภาพตัวอย่างงานลูกค้าด้านล่างค่ะ) หรือตู้ขนาดเล็กสามารถใช้สารดูดความชื้น (ชนิดซิลิก้าเจล) เพื่อช่วยลดความชื้นภายในตู้จัดแสดงขนาดเล็กเบื้องต้นได้

ชนิดของวัตถุความชื้นสัมพัทธ์ (%)
Relative humidity
อุณหภูมิ (องศาเซลเซียล)
โลหะทั่วไปต่ำกว่า 55%RH18-25°C
เหล็กต่ำกว่า 35%RH18-25°C
เครื่องปั้นดินเผา45-55%RH18-22°C
หิน35-60%RH18-25°C
แก้ว42-55%RH18-25°C
ไม้ เครื่องจักสาน งา กระดูก เขาสัตว์45-60%RH18-22°C
ผ้า กระดาษ ใบลาน หนัง50-60%RH18-22°C
ภาพจิตรกรรม50-65%RH18-22°C
ภาพจิตรกรรมสีน้ำ50-60%RH18-22°C
ภาพถ่าย35-40%RH18-22°C

สรุป
• ต้องมีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์สำหรับ โลหะ ต่ำกว่า 35%RH
• ต้องมีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์สำหรับ ภาพถ่าย ต่ำกว่า 35-40%RH
• ต้องมีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์สำหรับ วัตถุอื่นๆ ไม่เกิน 55%RH และควบคุมอุณหภูมิที่ 18-22 องศาเซลเซียล

   วัตถุประเภทโลหะผสมของทองแดง ได้แก่ สำริด ทองเหลือง สามารถเกิดสนิมง่ายเมื่อมีความชื้นและสัมผัสแร่ธาตุที่อยู่ในดิน สนิมที่เกิดขึ้นจะมีสีน้ำตาลแดง (ทองแดงออกไซด์)
สนิมสีเขียวเข้ม (ทองแดงคาร์บอเนต และทองแดงซัลเฟต) และสนิมสีเขียวอ่อน (ทองแดงคลอไรด์) หรือเรียกว่า โรคสำริด (bronze desease) สนิมชนิดนี้จะทำลายเนื้อวัตถุให้เป็นผงยากแก่การกำจัด ดังนั้นต้องมีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้ต่ำกว่า 55%RH และห้ามทำความสะอาดด้วยน้ำที่มีคลอรีน และน้ำแร่

    วัตถุประเภทเหล็ก เป็นโลหะเนื้อแข็ง มีน้ำหนักมาก เป็นสนิมได้ง่ายและรวดเร็วเมื่อสัมผัสกับอากาศและความชื้น สนิมมีสีน้ำตาลแดง (เหล็กออกไซด์) ถ้าสนิมเหล็กมีสีน้ำตาลส้ม
ลักษณะคล้ายหยดน้ำ แสดงว่าเกิดสนิมเหล็กคลอไรด์ขึ้น ซึ่งมีอัตรายมากจะทำให้สนิมลุกลามทำลายเนื้อเหล็กให้หมดความแข็งแรง ดังนั้นเมื่อเกิดสนิมเหล็กต้องมีการควบคุมค่า ความชื้นสัมผัสไม่เกิน 35%RH

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

• เอกสาร : การดูแลรักษาวัตถุทางวัฒนธรรม ด้วยหลักวิทยาศาสตร์การอนุรักษ์