สปอร์เชื้อรา คืออะไร ? อันตรายไหม ?

สปอร์ของเชื้อรา น่ากลัวกว่าที่คุณคิด คือส่วนหนึ่งของรา มีลักษณะเป็นเส้นใย หรือไฮฟา (hypha) เส้นใยของรา มีหน้าที่ยึดติดกับอาหาร และสืบพันธุ์ รวมทั้งสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ คือสปอร์ (spore)

เชื้อราคืออะไรกันแน่ ?

เชื้อราเป็นจุลินทรีย์จำพวกเดียวกับเห็ดรา และ ยีนต์ ย่อยสลายสิ่งมีชีวิตที่ตายไปแล้ว โดยเชื้อราเริ่มจากสปอร์ขนาดเล็กมากไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล้าที่ลอยอยู่ในอากาศ เมื่ออยู่ในสถานะที่เหมาะสมสปอร์ก็จะเจริญเติบโตได้ดี

สปอร์เชื้อราเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้เร็วมากหากอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม จะเติบโตได้ดีในที่ ที่มีความชื้นสูง อุณหภูมิไม่สูงมาก

ดังนันการกำจัดเชื้อราง่ายๆ คือ การที่จะไม่ทำให้สภาวะเหมาะสมกับการเจริญเติบโตขของเชื้อรา

ชนิดของสปอร์เชื้อรา

เส้นใยของเชื้อราแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. เส้นใยแบบไม่มีผนังกั้น (non septate hypha) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อ ภายในมีนิวเคลียส และไซโตปพลาสซึมกระจายอยู่ทั่วไป
2. เส้นใยแบบมีผนังกั้น (septate hyphae) ภายในเส้นใยมีผนังกั้น

โครงสร้างของเชื้อรา

โครงสร้างของเชื้อราแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดและสภาพแวดล้อม มีทั้งโครงสร้างแบบเซลล์เดี่ยว โครงสร้างแบบเป็นเส้นสาย บางชนิดมีรูปร่างสองแบบ กล่าวคือแบบเซลล์เดี่ยวและแบบเส้นใย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น เชื้อราบางชนิด เช่น ราเมือก มีรูปร่างในระยะหาอาหารที่คล้ายอมีบาหรือพลาสโมเดียม กินอาหารโดยการโอบล้อมอาหารแล้วกินเข้าไปทั้งก้อน กลุ่มราขนมปังและอีกบางชนิดสร้างเส้นใยที่มีลักษณะคล้ายรากพืชเรียกว่าไรซอยด์ เกิดขึ้นในบริเวณที่เส้นใยสัมผัสกับอาหาร โดยส่วนของไรซอยด์จะงอกเข้าไปในวัตถุอาหาร เพื่อใช้ช่วยในการยึดเกาะและดูดซึมอาหาร เชื้อราที่เป็นพาราสิตบางชนิดสร้างโครงสร้างพิเศษ เพื่อดันเยื่อเมมเบรนของเซลล์เจ้าบ้านให้ยื่นเข้าไปในเซลล์เพื่อดูดซึมอาหารจากเซลล์ของเจ้าบ้าน ไรโซมอร์ฟประกอบด้วยเส้นใยจำนวนมาก ทำหน้าที่ช่วยลำเลียงอาหารและแร่ธาตุให้กับเส้นใยในดอกเห็ด เส้นใยของเชื้อราบางชนิด เมื่อพบกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิหรือความชื้นต่ำหรือสูงเกินไป จะเข้าสู่ระยะพักตัว โดยเส้นใยบริเวณนั้นจะแตกแขนงสั้น ๆ และสานกันจนกลายเป็นกลุ่มก้อนที่มีรูปร่างและลักษณะจำเพาะของแต่ละสปีชีส์ เรียกแต่ละก้อนว่า สเคลอโรเตียม

อันตรายจากเชื้อรา

เชื้อรามีความหลากหลายทางชีวภาพมาก โดยมีมากกว่า 100,000 ชนิดทั่วไปร่างกายมีภูมิคุ้มกันทำให้ไม่เกิดการเจ็บป่วย แต่เชื้อราอาจสร้างปัญหากรณีที่เป็นเชื้อราชนิดที่สร้างสารพิษ หรือหากร่างกายคุณอยู่ในช่วงอ่อนแอ หรือมีโรคประจำตัว

การสูดดมหรือสัมผัสเชื้อราอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง ตา หรือจมูก และอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ จาม คลื่นไส้ เป็นไข้ แต่ผู้ที่มีอาการแพ้ก็อาจทำให้เกิดโรคหอบหืด โรคปอด ปัญหาทางเดินหายใจ และปัญหาระบบทางเดินอาหาร  

ขอบคุณข้อมูล www.cleanipedia.com