ปัญหาความชื้นภายในห้องเก็บสะสมและอนุรักษ์พระเครื่อง

ปัญหาความชื้นภายในห้องเก็บสะสมพระเครื่องที่เจอบ่อยๆ

อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์

อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้องจัดแสดงงานเป็นสิ่งที่นักอนุรักษ์ให้ความสำคัญและคำนึงถึง เนื่องจากเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อวัตถุจัดแสดงโดยตรง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะช่วยยืดอายุ ลดการเกิดความเสียหายต่าง ๆ ต่อวัตถุจัดแสดง โดยอุณหภูมิและค่าชื้นสัมพัทธ์ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้นตามที่นักอนุรักษ์แนะนำ คือ อุณหภูมิ 22-25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 เปอร์เซ็นต์ (Teresa Gillies, Neal Putt 1995: 103 ; จิราภรณ์ อรัณยะนาค 2558: 143) หากไม่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น จะส่งผลให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำจะส่งผลให้วัตถุหดตัว อุณหภูมิที่ต่ำจนเกินไปสามารถทำให้วัตถุบางชนิด แห้ง กรอบ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นวัตถุจะขยายตัว อุณหภูมิที่สูงมากทำให้วัตถุอ่อนตัว ละลายอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่ไม่คงที่ทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ความชื้นสัมพัทธ์กับวิธีการตรวจสอบพระเครื่องอายุ 100 ปี

ปัจจุบันนักเลงพระ นักสะสมพระเครื่อง นักส่องพระ รวมถึงเยาวชนรุ่นใหม่ๆ ต่างหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับวงการพระเครื่องเป็นจำนวนมาก โดยส่วนนี้เราจะพูดถึงพระเครื่องที่มี อายุเก่ามาก ๆ ตั้งแต่อายุ 100 ปีขึ้นไป เช่นพระสมเด็จวัดระฆัง , พระซุ้มกอ , พระผงสุพรรณ เป็นต้น ที่ใช้ความชื้นสัมพัทธ์จากร่างกายตัวเอง หรือความชื้นอื่นๆ ที่เป็นวิธีธรรมชาติ
มาตรวจสอบเนื้อความเก่าของพระ ว่าเป็นพระแท้ หรือไม่แท้ ด้วยการการหมักพระ เพื่อให้เกิดเห็ดเชื้อรา ซึ่งเห็นเชื้อรานั้นก็สามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว 

• ปัญหาที่เกิดจากความชื้นและอุณหภูมิ

   สิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญมากที่สุดต่อการชำรุดเสื่อมสภาพของโบราณสถานและโบราณวัตถุ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้ยาก น้ำฝน ความชื้น ความร้อน แสงสว่าง ก๊าซต่าง ๆ ในบรรยากาศ ฝุ่นละออง เกลือ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ล้วนมีบทบาทสำคัญที่ทำให้โบราณสถานและโบราณวัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลง
   น้ำฝน และ ความชื้นมีบทบาทสำคัญและก่อให้เกิดการชำรุดเสื่อมสภาพได้รุนแรงที่สุด เช่น อาจละลายองค์ประกอบบางส่วนของโบราณสถานโบราณวัตถุ หรืออาจรวมกับดิน ฝุ่นละอองก๊าซต่าง ๆ ในบรรยากาศ รวมทั้งวัสุดที่เป็นองค์ประกอบของโบราณสถานโบราณวัตถุเอง แล้วกลายเป็นสารละลายของกรด ด่าง หรือ เกลือ ซึ่งเข้าทำปฏิกิริยากับโบราณสถาน โบราณวัตถุแล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ การเป็น สนิม และการ สึกกร่อนของโลหะชนิดต่าง ๆ การสึกกร่อนของหิน อิฐ ปูน ฯลฯ

     ฝุ่นละอองและอนุภาคที่แขวนลอยอยู่ในบรรยากาศก่อให้เกิดความเสื่อมสภาพได้หลายรูปแบบ ในที่ที่มีลมแรง ฝุ่นละอองที่ปลิวมากับลมอาจแข็งพอที่จะขัดสีผิวของวัตถุให้สึกกร่อนลงไปเรื่อย ๆ 

     โดยปกติวัสดุต่าง ๆ มีความสามารถในการดูดและคายความชื้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและโครงสร้างของวัตถุแต่ละชนิด ระดับความชื้นจึงมีผลอย่างมากต่อการ “คงสภาพ” หรือ “เสื่อมสภาพ” ของวัตถุ เช่น อินทรียวัตถุมีความสามารถในการดูดและคายความชื้นได้ดี หากเก็บรักษาในที่ที่มีความชื้นสูงเกินไป วัตถุจะดูดความชื้นจากบรรยากาศแล้วขยายตัวหรือบวมพองตัวขึ้น ในขณะเดียวกันระดับความชื้นที่สูงเกินไปจะทำให้วัตถุอ่อนนุ่ม ขาดความเหนียว ฉีกขาดหรือแตกหักง่าย และยังเป็นแหล่งอาหารหรือที่อยู่อาศัยของแมลงและจุลินทรีย์อีกด้วย

     ความชื้นที่แปรเปลี่ยนขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดเวลา ทำให้วัตถุหลายชนิดมีการหดตัวและขยายตัวสลับกันไปเรื่อย ๆ นาน ๆ เข้าวัตถุจะเกิดการแตกร้าว โก่งงอ บิดเบี้ยว หรือกะเทาะแยกหลุดออกจากกันได้