บริษัท เอ็ม ดี ชิสเต็ม คอนโทรล แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
MD เราคือผู้นำด้านระบบควบคุมคุณภาพอากาศ จำหน่าย ติดตั้งเครื่องลดความชื้น โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ กว่า 17 ปี
Fitness “ฟิตเนส” ถือเป็นสถานที่ออกกำลังยอดฮิตในยุคปัจจุบัน ซึ่งระหว่างการออกกำลังกาย นั้นร่างกายของคนเราต้องการอ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรมีการออกแบบระบบ และ สถานที่ให้มีการระบายอากาศที่มีอัตราการหมุนเวียนของอากาศที่เพียงพอ พร้อมระบบควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ที่เพียงพอเพิ่มขึ้นกว่าห้องที่มีระบบปรับอากาศทั่วไป โดยอัตราการใช้อ๊อกซิเจนที่เพิ่มขึ้นของผู้ที่มาใช้บริการอีกทั้งการระบายอากาศที่่เพียงพอจะช่วยลดปัญหา ความชื้นสัมพัทธ์และกลิ่นอับที่เกิดขึ้นจากกลิ่นเหงือของผู้มาใช้บริการได้อีกด้วย
ช่วงนี้ประเทศไทยเราอากาศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวผลตก เอาแน่เอานอนไม่ได้เลย ดังนั้นเราลองมาคุยเรื่องความร้อนของร่างกายในการวิ่งกันค่ะ ซึ่งความร้อนในร่างกายเรา ปกติอยู่ที่ ประมาณ 37°C ซึ่งเกิดจากการผลิตสารพลังงาน ATP (Adenosine triphosphate) ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นปกติว่า เมื่อเราพยามยามใช้พลังงานมากขึ้นจากการวิ่ง หรือการออกกำลังกายอื่นๆ ร่างกายก็จะมีความร้อนสูงขึ้น โดยมีการคำนวนว่า การใช้พลังงานของเรานั้น มีประสิทธิภาพแค่ 25% ส่วนอีก 75% นั้นเราเสียไปกับการกลายเป็นความร้อน ซึ่งร่างกายเราทำงานได้ดีเมื่ออุณหภูมิในร่างกายอยู่ที่ประมาณ 37°C ค่ะ
เมื่อเราวิ่งร่างกายปกติของคนเราจะเริ่มพยายามระบายความร้อนออกมามากขึ้น เพื่อให้ระบบภายในร่างกายยังคงอุณหภูมิที่ทำงานได้ปกติ คือใกล้เคียง 37°C โดยระบบระบายความร้อน ในร่างกายเรานั่นทำได้ 2 แบบคือ
1. การไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น ช่วยนำความร้อน จากกล้ามเนื้อ ออกมาที่ผิวหนัง 2. การระเหยของเหงื่อ การที่เรามีเหงื่อจริงๆ ช่วยระบายความร้อนจาก ร่างกายได้น้อยมาก สิ่งที่จะช่วยระบายความร้อนจริงๆคือกลไกที่เหงื่อ ระเหยออกไป แล้วดูดความร้อนจาก ในร่างกายเราออกไปด้วย
การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายในภาวะอากาศเย็น มักทำได้นานกว่าในภาวะอากาศร้อน ทั้งนี้เพราะการออกกำลังกายในอากาศร้อนนั้น ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากกว่าในขณะอากาศเย็น แต่มีอุปสรรคคือความแห้งของอากาศ ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการเหนื่อยเร็ว คอแห้ง หายใจไม่ทันจากการที่ทางเดินของอากาศขาดความชุ่มชื้น จึงควรฝึกร่างกายให้คุ้นเคยและอบอุ่นร่างกายก่อนเสมอ
การออกกำลังกายในที่ที่มีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน จะส่งผลที่แตกต่างกัน โดยการออกกำลังกายในที่ที่มีอากาศเย็นทำให้สามารถใช้ระยะเวลาออกกำลังกายได้มากกว่าในที่ที่มีอากาศร้อน เพราะในขณะที่อากาศร้อนและมีค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงการระเหยของเหงื่อจะทำได้ไม่ดี ร่างกายต้องเพิ่มจำนวนเหงื่อให้มากขึ้น หัวใจและระบบไหลเวียนเลือดจึงต้องทำงานมากขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อยังเลวลงเนื่องจากอุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้น และจะเพิ่มการทำงานของระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ส่งผลให้สมรรถภาพทางกายลดต่ำลง การออกกำลังกายในสภาพอากาศที่เย็นจึงเกิดการเผาผลาญพลังงานได้มากกว่า โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการออกกำลังกาย คือ 19 องศาเซลเซียส และการออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อนจัดยังส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้อีกด้วย